หมักม่อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Rothmannia wittii บุรีรัมย์เรียกต้นขี้หมู เป็นพืชในสกุลสะแล่งหอมไก๋ วงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาลอมดำ ใบเดี่ยว ดอกออกเป็นกระจุก ปลายยอดสีขาวนวล ช่อละ 1-12 ดอก รูประฆัง ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกด้านในมีจุดประสีม่วงแดง ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น บานนานประมาณ 1 สัปดาห์ มีกลิ่นหอมอ่อนตอนกลางคืน ผลกลม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน พบครั้งแรกที่จ.นครราชสีมา ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่พระยาวินิจวนันดร
ใช้เป็นไม้ประดับ และมีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร ใช้ แก่น ปรุงยาต้มดื่มแก้ไข้ ถ่ายเส้นเอ็น แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต เหน็บชา ถ่ายพิษในตับ ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ใช้ แก่นหรือราก ต้มน้ำดื่มแก้ไข้ ลำต้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษากามโรค ทางจังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ แก่น นำมาต้มกินแก้ท้องผูก ต้มดื่มตอนที่อยู่ไฟ