วัดปฐมวิเวก ต.หนองย่างเสือ อ.หมวกเหล็ก จ.สระบุรี

ประดู่ป่า

ประดู่ป่า

ประดู่ป่า ชื่อสามัญ Burmese Padauk[2], Burmese ebony, Burma Padauk, Narva

ประดู่ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus macrocarpus Kurz (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Pterocarpus parvifolius Pierre) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE) สมุนไพรประดู่ป่า มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง), จิต๊อก (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เขมร) เป็นต้น

ข้อควรรู้ : ปัจจุบันต้นประดู่ป่า เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชลบุรี

 

ลักษณะของต้นประดู่ป่า

ต้นประดู่ป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือเป็นรูปร่ม ไม่แผ่กว้าง ลำต้นตั้งตรงมีความสูงได้ประมาณ 15-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.3-2.1 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำแตกเป็นระแหงทั่วไป ส่วนเปลือกในชั้นในมีน้ำเลี้ยงสีแดงดูแตกเป็นช่องไม่เหมือนกับต้นประดู่บ้าน กิ่งและก้านอ่อนมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป ส่วนกิ่งแก่ผิวจะเกลี้ยง มีรากตอนโคนต้นเป็นสันนูนขึ้นมาเหนือพื้นดิน เข้าใจว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย แต่ได้นำเข้ามาปลูกในประเทศแถบทะเลอันดามัน เบงกอลตะวันตก เพื่อประโยชน์ในการเป็นไม้ร่มตามข้างถนนและในสวน ประดู่ชนิดนี้ยังจัดเป็นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอีกด้วย คนไทยจะรู้จักกันดีมาแต่โบราณ โดยมักจะขึ้นอยู่ในป่าเขตเบญจพรรณและป่าเต็งรังทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันตกของประเทศไทย (ยกเว้นภาคใต้) และยังพบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา ฯลฯ ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติเขตร้อน สามารถขึ้นได้ตามไหล่เขา ที่ราบ ยอดเขาเตี้ย ๆ ใกล้บริเวณแหล่งน้ำที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย ดินตะกอน หรือดินที่เกิดจากภูเขาไฟ มีความลึก และระบายน้ำได้ดี

 

ถิ่นกำเนิดประดู่ป่า

ประดู่ป่า จัดเป็นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอีกชนิดหนึ่ง โดยมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า และไทย ซึ่งจะต่างจากประดู่บ้าน ที่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณแถบทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล และในมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้มากในภาคเหนือและภาคอีสานบริเวณป่าเบญจวรรณและป่าดิบแล้งทั่วไป

ประโยชน์และสรรพคุณประดู่ป่า

  • ช่วยบำรุงเลือด
  • แก้โลหิตจาง
  • บำรุงกำลัง
  • แก้กษัย
  • แก้คุดทะราด
  • แก้ไข้
  • แก้เสมหะ
  • แก้เลือดกำเดาไหล
  • แก้พิษเบื่อเมา
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ผื่นคัน
  • บำรุงร่างกาย
  • แก้ท้องเสีย
  • ช่วยสมานบาดแผล
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • แก้พอก ใช้เป็นยาพอกฝีให้สุกเร็ว ใช้พอกบาดแผ
  • แก้ผดผื่นคัน
  • แก้อาเจียน
  • แก้ท้องร่วง